วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประเด็น ข้อกำหนด และ เงื่อนไขมีอะไรบ้าง..

ทำไมต้องเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร หรือ เป็นการเปลี่ยนแค่ชื่อ ส่วนในรายละเอียดและเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆยังเหมือนเดิม แล้วดีอย่างไร ต้องเท้าความก่อนว่า สปก. เป็นเอกสารการถือครอง ที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนมือได้ ถ้าจะทำได้ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและวิธีปฏิบัติกฎระเบียบข้อบังคับของ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งมีรายละเอียดและข้อกำหนดจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรที่ถือครองที่ดิน สปก. ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และ ที่ดิน สปก.ไม่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้ ยกเว้นกับทาง ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส) ซึ่งให้สินเชื่อเพียง 50% จากราคาประเมินเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดในเรื่องของเงินทุน

ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ทั้งยังข้อกำหนดของ สปก. ให้ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรเท่านั้น ซึ่งเป็นการจำกัดการต่อยอดกิจกรรมทางเศษฐกิจในส่วนอื่นๆ เช่น การเปิดฟาร์มสเตย์ การเปิดร้านค้าหรือร้านอาหารในพื้นที่ การเปิดที่พักรายวันเชิงนิเวศวิทยา ซึ่งเป็นข้อจำกัด รวมทั้งการจำหน่ายถ่ายโอนสิทธิ์ในที่ดิน สปก. ก็ต้องถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับทายาท และทายาทที่ได้รับสิทธิ์ในที่ดิน สปก. ก็ต้องเป็นเกษตรกรด้วยกัน ถ้าประกอบอาชีพอื่นนอกเหนือเกษตรกรก็ไม่สามารถรับสิทธิ์ได้

นี้จึงเป็นปัญหาให้ พี่น้องเกษตรกรผู้มีที่ดิน สปก. เรียกร้องให้มีการเปลี่ยน ส.ป.ก เป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นและสามารถพัฒนาที่ดินของตัวเองได้มากขึ้น

กรอบและข้อกำหนด จากที่ดิน สปก.มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

1 เป็นนโยบายที่ไม่ได้นำที่ดิน สปก. เปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน ของกรมที่ดิน (กระทรวงมหาดไทย) แต่ยังคงเป็นที่ดินมีสถานะเป็นของรัฐ ภายใต้การกำกับของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
2 ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เหมาะสมและสอดคล้องการสภาพเศษฐกิจ และ สภาพสังคมชุมชน ที่โดยปกติใช้ในเรื่องเกษตรกรรมอย่างเดียว แต่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพอย่างอื่นได้ด้วย
3 สามารถแปลงเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้
4 สามารถเปลี่ยนมือได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและคุณสมบัติว่าต้องเป็นเกษตรกร และ ทายาทที่ได้รับสิทธิ์ในที่ดินก็ต้องเป็นลูกหลานของเกษตรกร
5 สามารถจำนองแบบมีเงื่อนไข โดยไม่ใช่การซื้อขายหรือจำนองกับนายทุน
6 ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นผู้ถือสิทธิ์ในที่ดิน สปก. (หรือเป็นผู้ซื้อ/เปลี่ยนมือ)
  6.1 โดยเกษตรกรจะได้รับการเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน หากเกษตรกรรายนั้นมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินครบ 10 ปีขึ้นไป
  6.2 มีเอกสารหรือพยานการทำข้อตกลง  หรือ การยินยอมจากผู้มีสิทธิ์ในที่ดิน สปก.
  6.3 เกษตรกรผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินไม่เกิน 10 ล้านบาท และเกษตรกรดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยน สปก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่

ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยน เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง ทั้งนี้ก็ต้องดูรายละเอียดและการตรวจสอบผู้มีสิทธิ์และความเป็นไปได้ตามข้อกำหนด ข้อกฎหมาย เงื่อนไข รวมทั้งกรอบเวลาในการดำเนินการ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการฟังความคิดเห็นของพี่น้องเกษตรกร ว่ามีข้อท้วงติงหรือมีความคิดเห็นประการใด

ส.ป.ก. 4-01 มาเป็น โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เขียนและเรียบเรียง

พีรพงษ์ ปาฐะเดชะ
Farmforrent.Cr
PA. MBA.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น