ว่าด้วยคำวินิจฉัยการลงนามรับรองเรื่องรังวัดสอบเขตที่ดิน
ประเด็นมีอยู่ว่า เจ้าของที่ดินข้างเคียงได้รับจดหมายจากกรมที่ดินให้คอยระวังแนวเขตที่ดินของตนเองเนื่องจากที่ดินของท่านติดกับแนวที่ดินของเจ้าของที่ดินที่จะทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน
และ เจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ดูเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินไม่เป็น แต่เจ้าหน้าที่บอกต้องมีการเซ็นรับรองแนวเขตที่ดินด้วย
ทางเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็หลงเซ็นรับรองไปโดยที่ว่าบอก “ผมก็ไม่ทราบนะครับ หรือ หนูก็ไม่ทราบนะค่ะ” ว่าแนวเขตอยู่ตรงไหน
แต่เจ้าหน้าที่บอกให้เซ็นก็เซ็นไป ต่อมา เกิดปัญหากรณีที่ว่ามีการเซ็นรับรองไปแล้ว มันดันมีผลทางกฎหมายก็คือในแบบ ทด 34 ซึ่งเป็นแบบรับรองของเจ้าของที่ดินข้างเคียงมีการระบุไว้เลยว่าข้าพเจ้าขอรับรองว่าหลักเขตที่ได้ปรับตามแนวเขตที่รังวัดในครั้งนี้เป็นการถูกต้องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ถ้าปรากฏมีหลักเขตใดที่ข้าพเจ้านำไม่ตรงกับความจริง
ข้าพเจ้ายอมรับผิดและยินยอมให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขนั่น หมายถึงว่าถ้าเราไปเซ็นรับรองแนวเขตกฎหมายจะถือว่าเราเป็นการเซ็นสละสิทธิ์
อะไรประมาณนี้ ซึ่งแนวคำตัดสินและศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากรณีมีการเซ็นรับรองแนวเขตไปจะถือว่าแม้นว่าที่ดินพิพาทจะอยู่ในที่ดินเราก็ต้องถือว่าเป็นการเซ็นสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ที่ข้างเคียงไปแล้วนั้น
เกิดข้อเท็จจริงว่าเซ็นโดยไม่ทราบว่าหลักหมุดที่แท้จริงอยู่ตรงไหนหรือเซ็นไปก่อนคงไปแก้ไขปัญหาคราวหน้าได้
(ประมาณว่าคิดเองหรือมีคนแนะนำมา)
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
เซ็นรับรองแนวเขตที่ดินไม่ถือว่าสละสิทธิ ฎีกาใหม่...
ตามคำพิพากษา ฎีกาที่ 1646/2551 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตที่ดินและลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินไว้ในใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง
อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์
แต่อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย
แม้โจทก์จะเป็นของที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าโจทก์สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว
การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ต้องการเริ่มต้นทำโครงการ carbon credits ต้องเตรียมอะไร..
มีที่ดินและต้องการเริ่มต้นทำโครงการ
carbon
credits จะเริ่มยังไง...
การทำ Credit Carbon หรือการซื้อขายเครดิตคาร์บอน (carbon credits) เป็นวิธีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการลดการปล่อยก๊าซในโครงการต่างๆ และแลกเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์บอนที่สามารถขายให้กับองค์กรที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองได้
หากคุณมีที่ดินและต้องการเริ่มต้นทำโครงการ carbon credits นี่คือขั้นตอนที่อาจช่วยได้:
1. ศึกษาและวางแผน
-ศึกษาตลาด :
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเครดิตคาร์บอน และมาตรฐานที่ใช้ เช่น Verified Carbon
Standard (VCS) หรือ Gold Standard
-ประเมินที่ดิน :
ตรวจสอบว่าที่ดินของคุณเหมาะสำหรับโครงการประเภทไหน เช่น การปลูกป่า
การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือการจัดการป่าไม้
2. เลือกโครงการที่เหมาะสม
-ประเภทโครงการ : เลือกประเภทของโครงการที่เหมาะกับที่ดิน
เช่น การปลูกป่าใหม่ (reforestation)
หรือการอนุรักษ์ป่าไม้ (forest conservation)
-ศึกษาโครงการที่คล้ายกัน :
เรียนรู้จากโครงการที่ประสบความสำเร็จเพื่อให้คุณเข้าใจความต้องการและขั้นตอนต่างๆ
เพื่อนำมาปรับแผนและแนวทางที่คุณเตรียมไว้
3. พัฒนาผลการศึกษา (Feasibility Study)
-วิเคราะห์ความเป็นไปได้ :
ตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการจากด้านเทคนิคและการเงิน
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
-วางแผนการดำเนินงาน :
สร้างแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมถึงการจัดการที่ดินและการตรวจสอบ