วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

6 ขั้นตอนของการเริ่มทำเกษตรแบบยั่งยืน

    จากสถานการณ์ที่เราๆท่านๆ เผชิญอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษในอากาศตามเมืองกรุง โรคระบาด Covid-19 รวมทั้งปัญหาทางสังคมในเมือง ที่ต่างทำให้คนในเมืองเริ่มสนใจการทำเกษตรมากยิ่งขึ้น สำหรับเรื่องการทำการเกษตรกับประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมายาวนาน และยิ่งมาเจอปัญหาสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ที่ทำให้คนสนใจมาทำการเกษตรมากยิ่งขึ้น Farmforrent.blogspot.com จึงอยากแนะนำสำหรับคนที่คิดจะทำการเกษตรแบบจริงๆจังๆ ทั้งที่มีพื้นฐานมาบ้าง หรือไม่มีพื้นฐานอะไรมาเลย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้กับแปลงเกษตรและมุมมองทางความคิดของตัวท่านเองที่มีต่อการทำการเกษตร

farmforrent.blogspot.com

6 ขั้นตอนของการเริ่มทำเกษตรแบบยั่งยืน


1) ทำความเข้าใจกับพื้นที่ที่ท่านกำลังจะทำการเกษตร

    ถือได้ว่าเป็นหัวข้อแรกของสิ่งที่คนทำการเกษตรต้องพิจารณาเลยที่เดียว และว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คนทำเกษตรต้องรู้เลยว่าพื้นที่ของตัวท่านเหมาะที่จะปลูกอะไร เพราะต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยต่างๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคก็มีลักษณะทางกายภาพไม่เหมือนกัน และนี้คือปัจจัยหลักที่คนทำการเกษตรต้องทราบเป็นอันดับแรก

2) ความตั้งใจของผู้ที่จะทำการเกษตร (มีความมุ่งมั่นมากพอที่จะทำให้สำเร็จ)

    เนื่องมาจากการทำงานเกษตร ต้องเอาใจใส่ ไม่มีวันหยุดและต้องต่อสู้กับแดด กับฝน ซึ่งไม่สามารถที่จะคาดเดาสถานะการณ์ว่าวันนี้จะต้องเจอกับอะไรบ้าง และต้องหมั่นดูแล เช่น รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พวนดิน แต่งกิ่ง เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้พืชผลผลิตที่ได้ออกมาดีพอที่จะนำไปแข่งขันในตลาด (จงถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า พร้อมที่จะรับเรื่องนี้ได้หรือไม่)

farmforrent.blogspot.com

3) ต้องทำความเข้าใจในเรื่องของต้นทุนของการทำการเกษตร

    เนื่องจากการทำการเกษตรมีต้นทุนค่อนข้างเยอะตั้งแต่ การทำโรงเรือน การทำระบบส่งน้ำ การลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการเพราะปลูก ถ้าทำค่อนข้างใหญ่ ก็จะมีในเรื่องการว่าจ้างคนงานมาช่วย ทั้งนี้ทั้งนั้นคนที่จะทำการเกษตรควรศึกษาข้อมูลในเรื่องต้นทุนที่จะต้องจ่ายและประเมินระยะเวลาพืชผลทางการเกษตรเมื่อออกสู่ตลาดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการเพราะปลูกนานเท่าไหร่และราคาของพืชผลทางการเกษตรมีราคาอยู่ในช่วงไหน พอจะคุ้มกับเม็ดเงินที่ได้ลงไปหรือไม่


4) ควรศึกษาหาข้อมูลในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร

    ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำการเกษตรต้องรู้และต้องทำการบ้านทุกครั้งก่อนที่ผลผลิตทางการเกษตรจะทำการเก็บเกี่ยว เพราะต้องดูปัจจัยทางการตลาด ปริมาณผลผลิตพืชชนิดนั้นๆที่เข้าสู่ตลาด เพราะมีผลต่อราคาสินค้าของผลผลิตพืชชนิดนั้นๆ เพราะ ถ้าความต้องการของผู้บริโภคน้อยแต่ผลผลิตออกมามาก ราคาก็ไม่ดี แต่ถ้าความต้องการมากแต่ผลิตได้น้อยราคาพืชผลทางการเกษตร ก็ดี ทั้งนี้ควรจะศึกษาในเรื่องช่องทางการค้า (on-line) และในเรื่องของการขนส่งประกอบด้วย (Logistic) เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการทำกำไรและผลของต่อการขาดทุน ของชาวเกษตรกร แต่ถ้ามีการศึกษามาพอสมควรก็จะช่วยลดช่องว่างเรื่องนี้ได้

farmforrent.blogspot.com

5) ต้องทำตัวเองให้เป็นผู้อยากรู้ อยากศึกษาตลอดเวลา

    ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราอยู่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โลกของการเกษตรก็เช่นเดียวกันที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของ เทคโนโลยีพันธุกรรม เทคโนโลยีเครื่องจักรทางการเกษตร การใช้เครื่องไม้เครื่องมือในเรื่องของการพยากรณ์อากาศ เพื่อนำมาประเมินในเรื่องของผลผลิตและผลกระทบในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกษตรกรรุ่นใหม่ ควรหันมาศึกษาเพิ่มพูนความรู้ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนา และลดความเสี่ยงต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้

farmforrent.blogspot.com

6) หาพันธมิตรการรวมกลุ่มของเพื่อนเกษตรกร

    เชื่อแน่นอนว่าเมื่อท่านเริ่มทำการเกษตรท่านจะต้องมีเพื่อนที่ต้องพูดคุยกันในเรื่องต่างๆในการทำเกษตร ไม่ว่าจะเรื่องการเพราะปลูก กิจกรรมต่างๆที่มีข่าวสารจากทางการหรือหน่วยงานเอกชน เพราะข้อดีของการรวมตัวกันของเกษตรกรนั้น นับเป็นเรื่องที่สาคัญต่อการพัฒนาการเกษตร เพราะการรวมตัวกันของเกษตรกร นอกจากจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรอง ทางด้านการซื้อวัตถุดิบและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ทางด้านปัจจัยการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังนำมาซึ่งความร่วมมือกันของหมู่คณะ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และการแก้ปัญหา ที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ และนำไปสู่ ความเข้มแข็งของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ


    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องรู้ สำหรับคนทั่วไปที่สนใจหันมาทำเกษตรควรให้ความสำคัญ และ ศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาตัดสินใจ ที่จะได้วางแผนและหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมในโอกาสต่อไป

เขียนและเรียบเรียง

พีรพงษ์ ปาฐะเดชะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น