ว่าด้วยคำวินิจฉัยการลงนามรับรองเรื่องรังวัดสอบเขตที่ดิน
ประเด็นมีอยู่ว่า เจ้าของที่ดินข้างเคียงได้รับจดหมายจากกรมที่ดินให้คอยระวังแนวเขตที่ดินของตนเองเนื่องจากที่ดินของท่านติดกับแนวที่ดินของเจ้าของที่ดินที่จะทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน
และ เจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ดูเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินไม่เป็น แต่เจ้าหน้าที่บอกต้องมีการเซ็นรับรองแนวเขตที่ดินด้วย
ทางเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็หลงเซ็นรับรองไปโดยที่ว่าบอก “ผมก็ไม่ทราบนะครับ หรือ หนูก็ไม่ทราบนะค่ะ” ว่าแนวเขตอยู่ตรงไหน
แต่เจ้าหน้าที่บอกให้เซ็นก็เซ็นไป ต่อมา เกิดปัญหากรณีที่ว่ามีการเซ็นรับรองไปแล้ว มันดันมีผลทางกฎหมายก็คือในแบบ ทด 34 ซึ่งเป็นแบบรับรองของเจ้าของที่ดินข้างเคียงมีการระบุไว้เลยว่าข้าพเจ้าขอรับรองว่าหลักเขตที่ได้ปรับตามแนวเขตที่รังวัดในครั้งนี้เป็นการถูกต้องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ถ้าปรากฏมีหลักเขตใดที่ข้าพเจ้านำไม่ตรงกับความจริง
ข้าพเจ้ายอมรับผิดและยินยอมให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขนั่น หมายถึงว่าถ้าเราไปเซ็นรับรองแนวเขตกฎหมายจะถือว่าเราเป็นการเซ็นสละสิทธิ์
อะไรประมาณนี้ ซึ่งแนวคำตัดสินและศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากรณีมีการเซ็นรับรองแนวเขตไปจะถือว่าแม้นว่าที่ดินพิพาทจะอยู่ในที่ดินเราก็ต้องถือว่าเป็นการเซ็นสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ที่ข้างเคียงไปแล้วนั้น
เกิดข้อเท็จจริงว่าเซ็นโดยไม่ทราบว่าหลักหมุดที่แท้จริงอยู่ตรงไหนหรือเซ็นไปก่อนคงไปแก้ไขปัญหาคราวหน้าได้
(ประมาณว่าคิดเองหรือมีคนแนะนำมา)
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
เซ็นรับรองแนวเขตที่ดินไม่ถือว่าสละสิทธิ ฎีกาใหม่...
ตามคำพิพากษา ฎีกาที่ 1646/2551 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตที่ดินและลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินไว้ในใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง
อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์
แต่อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย
แม้โจทก์จะเป็นของที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าโจทก์สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว
การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ต้องการเริ่มต้นทำโครงการ carbon credits ต้องเตรียมอะไร..
มีที่ดินและต้องการเริ่มต้นทำโครงการ
carbon
credits จะเริ่มยังไง...
การทำ Credit Carbon หรือการซื้อขายเครดิตคาร์บอน (carbon credits) เป็นวิธีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการลดการปล่อยก๊าซในโครงการต่างๆ และแลกเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์บอนที่สามารถขายให้กับองค์กรที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองได้
หากคุณมีที่ดินและต้องการเริ่มต้นทำโครงการ carbon credits นี่คือขั้นตอนที่อาจช่วยได้:
1. ศึกษาและวางแผน
-ศึกษาตลาด :
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเครดิตคาร์บอน และมาตรฐานที่ใช้ เช่น Verified Carbon
Standard (VCS) หรือ Gold Standard
-ประเมินที่ดิน :
ตรวจสอบว่าที่ดินของคุณเหมาะสำหรับโครงการประเภทไหน เช่น การปลูกป่า
การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือการจัดการป่าไม้
2. เลือกโครงการที่เหมาะสม
-ประเภทโครงการ : เลือกประเภทของโครงการที่เหมาะกับที่ดิน
เช่น การปลูกป่าใหม่ (reforestation)
หรือการอนุรักษ์ป่าไม้ (forest conservation)
-ศึกษาโครงการที่คล้ายกัน :
เรียนรู้จากโครงการที่ประสบความสำเร็จเพื่อให้คุณเข้าใจความต้องการและขั้นตอนต่างๆ
เพื่อนำมาปรับแผนและแนวทางที่คุณเตรียมไว้
3. พัฒนาผลการศึกษา (Feasibility Study)
-วิเคราะห์ความเป็นไปได้ :
ตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการจากด้านเทคนิคและการเงิน
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
-วางแผนการดำเนินงาน :
สร้างแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมถึงการจัดการที่ดินและการตรวจสอบ
วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567
หน่วยวัดพื้นที่ ที่ดิน ตามที่มีการใช้แบบไทย ไร่ งาน และ ตารางวา
หน่วยวัดพื้นที่ ที่ดิน ตามที่มีการใช้แบบไทย
การวัดขนาดพื้นที่ที่ดินในประเทศไทย มีทั้งใช้หน่วยวัดที่ดินแบบไทย และหน่วยวัดที่ดินแบบสากล ปะปนกัน ซึ่งถ้าเป็นการประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์จะมีการแสดงที่ดินเป็น หน่วย บาท : ตารางวา และ โฉนดที่ดินใช้หน่วยแสดงบนเอกสารสิทธิ์ เป็น ไร่ งาน และ ตารางวา และ เราจะมีแนวทางในการแปลงหน่วยที่ปรากฎในเอกสารแสดงสิทธิ์ให้ง่ายต่อความเข้าใจและง่ายต่อการใช้งาน ได้อย่างไรบ้าง
หน่วยวัดที่ดิน
หน่วยวัดที่ดินในไทยที่ถูกใช้ระบุในโฉนดที่ดินและคำนวณราคาซื้อ-ขายมีด้วยกัน
3 หน่วยคือ “ไร่-งาน-ตารางวา”
และมีความสัมพันธ์กับหน่วย “ตารางเมตร” จึงทำให้จดจำง่าย
และคุณก็จะได้คำตอบแล้วว่า 1 ไร่ มีกี่ตารางวา
1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา = 1,600 ตารางเมตร
1 งาน = 100 ตารางวา = 400 ตารางเมตร
1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566
วัดทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
วัดทรายขาว
ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
วัดทรายขาวเป็นวัดที่มีความโดดเด่นในเรื่องสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
ทั้งงานปั้นและงานโครงสร้างอาคารสถานที่
เป็นที่แปลกตาและน่าสนใจแก่ผู้ที่มาสักการะท่องเที่ยวและเยี่ยมชม และที่สำคัญมีพระพุทธรูปเก่าแก่อยู่คู่กับวัดมาอย่างยาวนาน
วัดห้วยทรายขาวเป็นวัดที่ตั้งอยู่
ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เยื้องกับแหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล คือบ่อน้ำร้อนห้วยทรายขาว
หรือ น้ำพุร้อนห้วยทรายขาว
วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565
การขายฝาก การจำนอง การซื้อไปโอนกลับ...คืออะไร แล้วเงื่อนไขอะไรที่ต่างกัน..?
การขายฝากที่ดิน
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดิน
โดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อขายฝากทันทีเมื่อมีการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก
ณ สำนักงานที่ดิน ซึ่งวิธีการนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในเงื่อนไขข้อตกลงตามสัญญาการขายฝาก
และส่วนผู้รับซื้อฝากจะได้รับประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อครบกำหนดการไถ่ถอนที่มีการระบุไว้ในเงื่อนไขสัญญาที่มีการตกลงกัน ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ผู้รับซื้อฝากจะให้ผลประโยชน์ที่สมน้ำสมเนื้อกับราคาประเมินที่ดิน
ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยถูก หรือให้วงเงินสูง เป็นต้น
เพื่อจุงใจการตัดสินใจแก่ผู้ขายฝาก
หมายเหตุ ขายฝาก ต่างจาก ฝากขาย คือ “การขายฝาก” ลักษณะธุรกรรมที่ผู้ขายมีโอกาสซื้อคืนจากผู้รับฝากขาย
ส่วนผู้รับฝากขายได้ผลตอบแทนคือดอกเบี้ย แต่ “การฝากขาย” เป็นรูปแบบของนิติกรรมประเภทหนึ่งที่ผู้ขาย
แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ตัวแทนหรือนายหน้า กระทำการขายทรัพย์สินแทนตน
และได้ค่าตอบแทนเป็นค่ากำเหน็จ (ค่านายหน้า)
ข้อดีของการขายฝาก
2) ผู้ขายฝากยังสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินที่ขายฝากได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดการไถ่ถอน
3) ผู้ขายฝากอาจทำสัญญาขยายระยะเวลาไถ่ออกไป ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี ในกรณีที่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาไถ่ถอน ซึ่งผู้ขายฝากไม่สามารถที่จะดำเนินการไถ่ถอนคืนได้ในช่วงระยะเวลาที่ตกลงไว้ (ไม่เกิน 10 ปี)
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565
5 เรื่องต้องที่ตรวจสอบก่อนจะทำการซื้อที่ดิน (ส่วนของผู้ซื้อ)
5 เรื่องต้องที่ตรวจสอบก่อนจะทำการซื้อที่ดิน (ส่วนของผู้ซื้อ)
1) ต้องรู้ก่อนว่าที่ดินแปลงที่จะซื้อนั้นอยู่ตรงไหน บริเวณไหน และที่สำคัญควรเข้าไปดูที่ดินแปลงที่จะซื้อ เพื่อทำการประเมินเบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจ เช่น
- ดูพื้นที่โดยรวมมีหน้าตาเป็นอย่างไร
- ดูพื้นที่เข้าออกที่ดินที่จะทำการซื้อ
ว่า ติดทางสาธารณะ หรือเป็นที่ดินตาบอด
- ดูบริเวณพื้นที่ข้างเคียงมีลักษณะเป็นอย่างไร
เช่น ติดกับบ่อขยะ หรือแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น
2) ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ว่าเป็นเอกสารสิทธิ์ประเภทไหน เช่น โฉนดที่ดิน (น.ส.4) ; หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) หรือจะขอดูเอกสารสิทธิ์จากผู้ขายหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์
3) เมื่อดูเอกสารสิทธิ์แล้วไม่ชัดเจนยังติดข้อสงสัย
ให้ติดต่อกรมที่ดินตามเขตพื้นที่ที่ระบุตำแหน่งในโฉนดที่ดิน เพื่อดำเนินการขอคัดสำเนาโฉนดที่ดิน
(กรณี : ขอตรวจสอบเอกสารก่อนทำการซื้อขาย) เผื่อเจ้าหน้าที่สอบถามวัตถุประสงค์ในการคัดสำเนาโฉนด
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ผู้เช่าในที่ดิน ขุดดินในที่ดินที่เช่าไปขาย..
ผู้เช่าในที่ดิน ขุดดินในที่ดิน ที่เช่าไปขาย....มีความผิดฐานใด
ตามที่มีคนเคยสงสัยว่า กรณีที่ผู้ขอเช่าที่ดินมีความประสงค์ที่จะขอเช่าที่ดินเพื่อกิจการหรือกิจกรรมต่างๆ
เช่าไปสักระยะ ดันขุดที่ดินทำบ่อพักน้ำ (แล้วนำดินที่ได้จากการขุดไปขายต่อ) และก็ไม่เคยตกลงหรือบอกกล่าวกับเจ้าของที่ดินมาก่อน
ประเด็นนี้ ในส่วนของเจ้าของที่ดินหรือผู้ให้เช่าจะดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างไร
ในกรณีนี้ผู้เช่าที่ดินถือว่าครอบครองที่ดินแทนผู้ให้เช่าในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ การที่ผู้เช่าได้ขุดดินขึ้นมา ย่อมมีสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ให้เช่าไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้เช่าด้วย เมื่อผู้เช่าเอาไปขาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
กรณีดังกล่าวมีคำพิพากษาฎีกาที่ 5423/2541
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย
มีผลเพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์
และผู้เสียหายไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง
ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย
การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต
เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์